top of page

ระบบหลอดเลือด

ในยุคปัจจุบันที่เราเชื่อว่าการแพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้น แต่ทว่าจำนวนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พวกเราอาจมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า การที่จำนวนของผู้ป่วยในโรคดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นนี้ เป็นเพราะการแพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้น จริงหรือ?หรือเป็นเพราะอายุเฉลี่ยของเรายืนยาวมากขึ้น จึงมีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น หรือเป็นเพราะโอกาสในการเข้าถึงการรักษามีมากขึ้น ทำให้วินิจฉัยผู้ป่วยได้มากขึ้น? หรือเป็นเพราะผู้ป่วยโรคดังกล่าวมีอัตราการรอดชีวิตจากโรคสูงขึ้นแต่อัตราการหายของโรคต่ำ จนทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเราควรพิจารณาเรื่องนี้ให้ดี ในขณะที่พิจารณาเรื่องนี้ ผมขอยกตัวอย่าง สักเล็กน้อย

red-blood-cell-blood-vessel.jpg

โรคความดันโลหิตสูง

ทุกคนคงเคยตรวจวัดความดันเวลาตรวจสุขภาพ แต่คงน้อยคนที่จะเข้าใจว่าค่านั้นบอกอะไรได้บ้าง โดยปกติแล้วการวัดค่าความดันโลหิตจะแสดงผลออกมา 2 ค่า

1. SYSTOLIC คือ ตัวเลขตัวบนซึงมีค่ามากกว่า เป็นการวัดค่าความดันของหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจบีบตัว 

2. DIASTOLIC คือ ตัวเลขตัวล่างซึ่งมีค่าน้อยกว่า เป็นการวัดค่าความดันในหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจคลายตัว 

หากได้รับการวัดแล้วและมากกว่า 140/90  ในโอกาสที่แตกต่างกัน แล้วยังได้ค่าที่สูงกว่าปกติทั้ง 3 ครั้ง ท่านจะถูกวินิจฉัยว่าเป็น โรคความดันโลหิตสูง และส่งพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของโรคต่อไปโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีหลายประเภท ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น การอักเสบเรื้อรังของหลอดเลือด ความผิดปกติของต่อมหมวกไต ความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือโครงสร้างหัวใจ ความผิดปกติของหลอดเลือดตั้งแต่กำเนิด แต่สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดมาจากการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดเลือดจนมีคราบหินปูน และคราบไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้การยืดหยุ่นตัวของหลอดเลือดเสียไปเกิดสภาวะที่เรียกว่าหลอดเลือดตีบแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งส่งผลสะท้อนให้กลไกในระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมน เพิ่มแรงดันในการบีบตัวของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้นซึ่งถ้าไม่รักษา ภาวะแรงดันสูงดังกล่าวนี้ จะมีผลให้หลอดเลือดต่าง ตามอวัยวะเกิดความเสื่อมขึ้น อันเป็นผลแทรกซ้อนตามมาจากภาวะนี้ อาทิเช่น โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) และหัวใจ โรคไต จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น

ซึ่งแนวทางการรักษาโดยทั่วไปจะเป็นการแนะนำวิธีการดูแลตนเอง และหากจำเป็นแพทย์จะจ่ายยาเพื่อเป็น การลดความดันโลหิตเพื่อประคับประคองไม่ให้ความดันโลหิตนั้นสูงเกินไป เท่านี้เพียงพอสำหรับเรารึเปล่า? ในปัจจุบันยังมีอีกหลายทางเลือกที่ช่วยให้การดูแลสุขภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     

ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการตรวจตวามดันแบบ 24ชม (ABPM) ช่วยประเมินลักษณะและความแปรปรวนของความดันโลหิตเพื่อประเมินและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจระดับชีวเคมีในระดับลึกเพื่อช่วยประเมินถึงสาเหตุและความเสี่ยงได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

   

เครื่องนวดเพิ่มการไหลเวียนโลหิต หรือ Enhanced External Counter Pulsation (EECP) เป็นเครื่องที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ส่งเสริมความยืดหยุ่นในหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งเป็นตัวช่วยอีกหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหาโดยตรงของภาวะความดันโลหิตสูง

   

ทั้งนี้ยีงมีการดูแลรักษาอื่นๆนอกจากที่กล่าวมา ตามปัญหาที่เฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยแต่ละท่าน ด้วยวิธีแบบแพทย์ผสมผสานที่คอยช่วยดูแลให้คำแนะนำในสาระสำคัญต่างๆ และร่วมดูแลกันไปอย่างใกล้ชิด

bottom of page