อ่อนเพลียเรื้อรัง
ภาวะต่อมหมวกไตล้า Chronic fatigue syndrome, Burn out syndrome
เป็นภาวะที่หาสาเหตุและวินิจฉัยได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้จากเครื่องมือที่มีในหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นภาวะที่ร่างกายรู้สึกขาดพลังงาน (low energy) แต่หาสาเหตุไม่ได้ เกิดจากการเสียสมดุลการทำงานระหว่างไฮโปทาลามัส ต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis) ในการตอบสนองต่อภาวะความเครียด ซึ่งโดยปกติการตอบสนองต่อความเครียดจะมีการทำงานระหว่างระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทเรียกว่า neuroendocrine ภาวะความเครียดจึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า
ทั้งนี้ความเครียดไม่ได้หมายความถึงแค่ ทางจิตใจเท่านั้น หากยังรวมถึงความเครียดทางร่างกายอีกด้วย ฮอร์โมนคอติซอล (cortisol) เป็น สารตัวหลักที่หากร่างกายขาด จะทำให้ไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นประจำในภาวะต่อมหมวกไตล้า ในส่วนของสารสำคัญอีกชนิดได้แก่ อัลโดสเตอโรน (aldosterone) จะช่วยควบคุมสมดุลของระดับ โซเดียมและโปตัสเซียมที่อยู่ในร่างกาย ในขณะที่มีภาวะเครียด ร่างกายจะเพิ่มการหลั่ง aldosterone ทำให้โซเดียมคั่ง ตามมาด้วยน้ำคั่งและความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามสถานการณ์เหล่านี้อาจไม่ตรงไปตรงมาในภาวะต่อมหมวกไตล้า เพราะความดันโลหิตอาจจะต่ำก็ได้
ประโยชน์ของคอติซอล
-
ทำให้น้ำตาลในเลือดเป็นปกติ
-
ต่อต้านการอักเสบ
-
กดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
-
ทำให้หลอดเลือดหดตัว
ดังนั้นคนไข้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมีอาการดังต่อไปนี้
-
น้ำตาลต่ำ hypoglycemia
-
สมองล้า brain frog
-
ใจสั่น palpitation
-
วิตกกังวล anxiety
-
ลดน้ำหนักยากหรือน้ำหนักเกินง่าย difficulty losing weight
-
นอนหลับยาก insomnia
-
อาการผิดปกติระหว่างมีรอบเดือน PMS
-
อยากอาหารเค็ม salt craving
-
ไทรอยด์ทำงานลดลง low thyroid function
-
ซึมเศร้า (depression)
-
สมรรถภาพทางเพศลดลง low libido
จริงๆแล้วอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า แบ่งเป็น 4 ระยะ ตามความรุนแรง
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เกิดภายหลังความเครียดไม่นาน เช่น เราอาจจะทำงานหนักมาก หรือเดินทางไกลขึ้นเขา ออกกำลังกายอย่างหนัก หรือแม้กระทั่งความเครียดจากการทะเลาะเบาะแว้ง หรือเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต ตราบใดที่ร่างกายเรารับรู้ได้ว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการอ่อนแรง และต้องใช้เวลาระยะหนึ่งพักเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย นอนหลับให้สนิท ก็จะกลับฟื้นฟูขึ้นมาได้
ระยะที่ 2 ถ้าความเครียดนั้นยังคงเกิดขึ้นต่อไปหรือทวีความรุนแรงมากขึ้น หรือมีความเครียดอื่นเข้ามาสบทบ เช่น บังเอิญเป็นไข้หวัดใหญ่ช่วงที่ภาระงานหนักขึ้น แม้ว่าในระยะนี้อาการต่างๆจะหายไปได้เอง แต่ผลกระทบต่อต่อมหมวกไตก็เกิดขึ้นแล้วโดยที่เราไม่รู้ตัว
ระยะที่ 3 ผลกระทบต่อร่างกายที่มีต่อความเครียดได้ปรากฏออกมาเกินกว่าที่เราจะเพิกเฉยอาการเหล่านี้อีกต่อไป เช่นภาวะติดเชื้อเรื้อรัง นอนไม่หลับ รู้สึกไม่มีพลังงาน ประจำเดือนผิดปกติ หรือภาวะซึมเศร้า
ระยะที่ 4 คือระยะที่ 3 ที่ผิดปกติจนกระทั่งก่อให้เกิดโรค เช่น โรค metabolic syndrome, polycystic ovarian syndrome (PCOS), hypothyroidism
การวินิจฉัย
การตรวจหาภาวะต่อมหมวกไตล้าในทาง Anti-Aging สามารถตรวจระดับ cortisol และ DHEA ในเลือด หรือตรวจละเอียดแบบเป็น serial จากน้ำลาย (Adrenal Stress Test) ซึ่งจะทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนได้ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดมากที่สุด นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุของการที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า แล้วการทำงานของอวัยวะอื่นที่ผิดปกติที่เป็นผลมาจากต่อมหมวกไตล้าด้วย เช่น ตรวจฮอร์โมนเพศ ภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
การรักษา
1. การปรับสมดุลการใช้ชีวิต
-
การรับประทานอาหารเป็นเวลา ไม่รับประทานอาหาร 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
-
ลดการรับประทานอาหารที่มีสารปรุงแต่ง
-
ดื่มน้ำให้มาก
-
เข้านอนก่อนเที่ยงคืน
-
ออกกำลังกายเน้น breathing exercise
2. การดีทอกซ์ เพื่อลดภาวะเครียดทั้งจากมลพิษและอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น
3. การให้สารอาหารทดแทนเข้าร่างกายที่ประกอบไปด้วยวิตามินแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระ
4. การให้ฮอร์โมนทดแทนในเคสที่จำเป็นต้องได้
5. การปรับจิตใจและอารมณ์ให้กลับเข้าสู่สมดุล โดยใช้เครื่องมือ emowave หรือ การรักษาแบบ bach flower
เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัย
Blood- cortisol, DHEA, Sex hormone level
Saliva- Adrenal Stress test
Mental&Emotional- Emowave, Maxpulse test